จงซื่อสัตย์ต่อตนเอง

เคยรู้สึกว่าการโกหกตัวเองเจ๋งมากตอนเรียน ป.โท
เพราะมันช่วยให้เราทำใจทนทำในสิ่งที่ไม่ชอบ
และมีกำลังใจในการเรียนให้สำเร็จลุล่วง

Continue reading

การออกกฎอย่างมีประสิทธิภาพ

ในยุคปัจเจกชนเฉกเช่นปัจจุบันนี้
ทุกคนมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น
การจะออกกฎให้ผู้คนปฏิบัติตาม
ต้องเน้นไปที่ประโยชน์สุขของคนในสังคมเป็นหลัก
มากกว่าความคิดเห็นของผู้มีอำนาจปกครอง
หรือขนบธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา
โดยไม่รับฟังเหตุผลของผู้เรียกร้องอย่างลึกซึ้ง

สังคมจะอยู่ได้ก็ต่อเมื่อผู้คนในสังคมทำตามกฎระเบียบ
ถ้าผู้คนในสังคมเห็นแย้งกับกฎระเบียบที่มีอยู่
ก็คงเป็นเรื่องยากที่คนในสังคมจะปฏิบัติตาม
และเป็นไปไม่ได้ที่สังคมจะสงบเรียบร้อย

หน้าที่ของผู้ออกกฎจึงไม่ใช่การคิดว่าจะออกกฎอะไร
แต่เป็นการออกไปฟังความคิดเห็นจากคนในสังคมให้ได้มากที่สุด
แล้วเก็บเอามาคิดพิจารณาให้ตกผลึกว่า
จะออกกฎอย่างไรให้คนสังคมมีความพึงพอใจ
เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นธรรมที่สุด
รวมไปถึงการสื่อสารหลักการและเหตุผลเพื่อให้คนในสังคมเข้าใจ

ถึงจะไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะทำให้ทุกคนในสังคมพอใจ
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะหยุดไม่พัฒนา
วิธีการกำกับสังคม ให้เป็นไปในทิศทางที่เอื้อประโยชน์แก่ทุกคน
ให้ทั่วถึง ให้เท่าเทียม ให้ได้มากที่สุด

สังคมจะเดินต่อไปได้หาใช่เพราะผู้นำสังคมแค่บางคน
แต่เป็นเพราะผู้คนในสังคมที่เดินร่วมกัน
เพื่อให้สังคมได้ก้าวเดิน

คุณค่าของงาน ขึ้นอยู่กับมุมมองที่เรามีต่องาน

ถ้างานทำแล้วเป็นสุข แม้จะเยอะและยากเพียงใด หรือต่อให้อยู่นอกเวลาทำงาน คนก็ยินดีทำอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

ถ้างานทำแล้วเป็นทุกข์ ต่อให้จะน้อยและง่ายเพียงใด ต่อให้อยู่ในเวลาทำงาน คนก็ฝืนใจทำบ่นโอดครวญไม่อยากทำ

ปัญหาคือบางงานมันจะมาเราเลือกไม่ได้ มันจำเป็นต้องทำ ก็ต้องมีใครบางคนต้องทำ

โชคดีที่ความสุขความทุกข์เป็นเรื่องของมุมมอง อย่างน้อยเราสามารถควบคุมปรับมุมมองที่มีต่องานได้ด้วยตัวเราเอง

ความจริงก็แค่หยุดตีโพยตีพาย แล้วมาคิดพิจารณา เลือกมองงานในมุมมองที่สร้างสรรค์ หาทางทำให้มันสนุก มองถึงโอกาสในการเรียนรู้ ทำมันเพื่อพัฒนาตนเอง เพียงเท่านี้ทุกงานก็จะออกมาดี เป็นผลงานที่มีคุณค่า คนทำก็จะมีความสุข อนาคตก็มีแต่จะเติบโต

พูดง่าย แต่ทำยาก สุดท้ายถ้าหนีไม่พ้น ยังไงก็ต้องทำ แล้วจะมัวจมกองทุกข์อยู่กับมุมมองแย่ๆ เพื่ออะไร

ที่น่ากลัวไม่ใช่การต้องทำงานที่ไม่ชอบ
ที่น่ากลัวคือการไม่มีงานทำต่างหาก

ช่วงเวลาของชีวิต กับ หนังสือที่ฉันอ่าน

เมื่อคืนก่อนนอนนั่งๆ คิดดูว่ามีอะไรที่เสียดายที่สุดที่ไม่ได้ทำมาตั้งนานแล้ว แล้วก็พบว่า เป็นเรื่องการอ่านหนังสือ

สมัยก่อนชอบคอมพิวเตอร์มาก ก็เลยเล่นแต่คอมฯ อ่านแต่เรื่องคอมฯ ก็รู้สึกโอเคแล้วสำหรับตอนเป็นเด็ก แต่เติบโตมาอย่างไร้ความรู้รอบตัว เพิ่งมาพบว่าโลกนี้มีอะไรอีกมากมายที่รอให้เราค้นหา

ความจริงตอนเป็นเด็กอยู่ที่บ้านก็มีคนอ่านหนังสือ พ่อก็อ่านหนังสือ อี๊ก็อ่านหนังสือ พี่สาวก็อ่านหนังสือ แต่เป็นหนังสือคนละแนวกับที่สนใจ สุดท้ายก็เลยไม่ได้มีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านหนังสือเท่าไหร่

ตอนมัธยมปลายตัดสินใจเลือกเส้นทางคอมฯ ถึงเริ่มเข้าร้านหนังสือไปซื้อหนังสือคอมฯ มาอ่าน แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่สนใจ จนกระทั่งใกล้ๆ จะจบ ม. ปลายถึงค้นพบว่า ชอบอ่านหนังสือแนวธรรมะประยุกต์กับวิทยาศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้หามาอ่านเท่าไหร่เพราะไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์ แค่อ่านแล้วเอ๊ะ ปรากฎการณ์เหนือธรรมชาตินี้ที่เคยเกิดกับเราก็เกิดกับคนอื่นนิหว่า หรือความจริงวิทยาศาสตร์จะไม่ใช่ทุกอย่าง และธรรมะที่เห็นกันทั่วไปก็ไม่ใช่อย่างที่มันควรจะเป็น

Continue reading

สรุปสิ่งที่ได้ทำในปี 2020

กลับมาพบกันทุกปีนะครับ ตอนนี้ทำเป็นกิจวัตรประจำปีไปแล้วที่จะต้องมาเขียนสรุปเรื่องที่ได้เจอในแต่ละปี ที่มาเขียนนี้ก็เพื่อต้องการจดบันทึก ต้องการทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละปีว่าได้เจออะไรมาบ้าง เผื่อแก่ๆ จะได้กลับมาอ่านดูสมัยยังมีแรงมีมุมมองต่อชีวิตยังไง 555 แล้วก็เพื่อมองหาช่องทางในการพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปด้วย อันนี้สำหรับตัวตนในปัจจุบัน

สำหรับปีนี้ก็เป็นปีที่หนักหนาสำหรับหลายๆ คน ส่วนตัวผมแล้วอาจจะไม่โดนผลกระทบโดยตรง แต่ก็โดนทางอ้อมไม่น้อย เห็นคนหลายคนลำบาก ผมก็พยายามจะช่วยเหลือเท่าที่ตัวเองจะพอช่วยได้แบบไม่ลำบากตัวเองจนมากเกินไป และระหว่างนั้นก็เกิดการพัฒนาทางฝั่งของตัวเองไปด้วยเช่นกัน ปี 2020 นี่คือเป็นปีที่ทุกคนคงต้องจดจำไม่มีวันลืม อย่างกับสงคราม 5555

ส่วนตัวผมเอง ก็ขอจดบันทึกเกี่ยวกับปี 2020 เอาไว้ประมาณนี้..

Continue reading

เรียนรู้การใช้ชีวิตจากการปลูกต้นไม้

คำกล่าวที่ว่า.. “การปลูกต้นไม้ ก็คือการเชื่อมั่นในอนาคต”
ฟังดูแล้วก็น่าจะจริง เพราะถ้าไม่เชื่อว่าต้นไม้จะโต ก็คงไม่มีปลูกกันตั้งแต่ต้น

งานอดิเรกอีกอย่างหนึ่งของผมคือการปลูกต้นไม้
เนื่องจากอยู่คอนโด ก็เลยต้องปลูกในกระถาง
พื้นที่จำกัด ต้นไม้เองก็โตได้อย่างจำกัด
ที่ปลูกไปก็ไม่ได้หวังอะไรนอกไปจาก
อยากเห็นมันเติบโตไปในแบบของมัน
อยากรู้ว่ามันจะโตสุดไปได้ถึงไหน เริ่มเสื่อมถอยด้วยสาเหตุใด
จะทำให้มันรอดได้ยังไง และถ้าสุดท้ายไม่รอดก็ด้วยเหตุผลใด

Continue reading

เส้นกั้นบางๆ ระหว่างการบริหารแบบ cross-functional team และการบริหารทีมแบบมวยวัด

มีเส้นกั้นบางๆ ระหว่างการบริหารแบบ cross-functional team และการบริหารทีมแบบมวยวัด

Cross-functional team เชื่อว่า คนในทีมสามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่ตัวเองไม่มีจากเพื่อนร่วมทีมที่มีได้ สามารถทำหน้าที่ทดแทนกันได้ ไม่ต้องพึ่งพาคนใดคนหนึ่งตลอดเวลา ยามสงบจึงต้องคอยตั้งโจทย์งานที่ปลอดภัยที่แต่ละคนไม่เคยทำมาก่อนให้ไปลองทำ และให้คนที่รู้เรื่องอยู่แล้วเป็นผู้แนะนำสอนวิธีการ ทำสลับกันแบบนี้ เธอสอนฉัน ฉันสอนเธอ ไปเรื่อยๆ ทุกคนในทีมก็จะรู้เรื่องคร่าวๆ นอกจากสิ่งที่ัตัวเองรับผิดชอบ เมื่อถึงยามสงครามทีมจะพร้อมบูรณาการความรู้ที่ร่วมเรียนรู้มาด้วยกันเพื่อแก้ปัญหาที่ต้องเผชิญ

การบริหารทีมแบบมวยวัด เชื่อว่า คนในทีมทำได้ทุกอย่าง เห็นงานเข้ามาก็บอกคนที่เห็นว่าว่างอยู่ลงไปทำเลย โดยไม่ได้ประเมินดูว่าเขามีทักษะตรงนั้นหรือไม่ ถ้าโชคดีทำได้ก็แล้วไป ก็เป็นโชคดีของคนนั้นที่ได้เรียนรู้ทักษะเพิ่มไป งานเสร็จเร็วโดยไม่ต้องมีคนสอนงาน แต่ถ้าโชคร้ายพยายามทำแล้วล้มเหลวก็เสียหายสองต่อ งานล่าช้า ส่วนเหยื่อคนนั้นก็เสียกำลังใจ

แต่ในสถาการณ์จริง เราก็มักจะข้ามเส้นกันบางๆ นี้ ไปๆ มาๆ

คำแนะนำสำหรับผู้ที่อยากทำงานสายคอมแต่จบไม่ตรงสาย และน้องๆ ที่เรียนกำลังเรียนใกล้จะจบ

สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้ง เนื่องจากมีเพื่อนๆ ผู้อ่านเข้ามาปรึกษาค่อนข้างมากในเรื่องของการย้ายมาทำงานสายคอม แต่ตัวเองไม่ได้เรียนจบคอม จะเป็นไปได้ไหม เรื่องหนึ่งที่ผมรู้สึกอย่างแรงกล้าเลยก็คือ สิ่งที่จะตัดสินว่าคนคนหนึ่งจะทำงานสายคอมฯ ได้หรือไม่ ควรจะเป็นความสนใจและสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์ของเขา ไม่ใช่ใบปริญญา ผมเองก็มีประสบการณ์รับคนนอกสายคอมเข้ามาทำงานหลายคน วันนี้จึงจะมาแบ่งปันประสบการณ์และความคิดเห็นเรื่องเกี่ยวกับมุมมองต่างๆ และสิ่งที่ต้องเตรียมว่าจะมาทำงานสายคอมจริงๆ จะย้ายมาได้อย่างไร ต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มบ้าง แล้วจะหางานได้อย่างไรถ้าเราจบมาไม่ตรงสาย วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องพวกนี้กันให้ถึงพริกถึงขิงกันไปเลยย

ถ้าคุณสนใจและมากความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์ คุณก็ควรจะได้ทำงานด้านคอมพิวเตอร์ อย่าให้ใบปริญญามาตัดสินชีวิตของคุณ!

Continue reading

Data Engineer ทักษะที่ต้องมี โจทย์ เครื่องมือ และความท้าทายที่ต้องเจอ

สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทความยาวๆ แบบที่อ่านจบรู้เล่าเอาไปโม้ต่อได้เลย วันนี้ผมจะมาแนะนำให้รู้จักกับสายอาชีพวิศวกรข้อมูล หรือ Data Engineer กัน แต่เราจะไปไกลกันมากกว่านั้น ผมจะพาไปรู้จักกับที่มาที่ไปของสายอาชีพนี้ด้วยว่ามันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร งานปรกติทำอะไรกัน มีเครื่องมืออะไรต้องรู้จักบ้าง และปิดท้ายที่ตัวอย่างโจทย์ทางฝั่ง Data Engineer จากบริษัท Credit OK ที่ผมทำงานอยู่

บทความนี้อาจจะยาวๆ หน่อย เพราะเขียนขึ้นมาเพื่อตกผลึกความคิดสำหรับไปบรรยายให้นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีฟังในหัวข้อ Introduction to Data Engineer and Data Pipeline at Credit OK และงาน CodeMania 1010 ในหัวข้อ Serverless Big Data Architecture with Google Cloud Platform ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปดู Slides ได้จากลิงค์นะครับ อ่อ แล้วก็มี Video ด้วยนะ เข้าไปดูได้ที่นี่ครับถ้าสนใจ https://www.youtube.com/watch?v=BAeo0FcF6f8 ขอขอบคุณอาจารย์และทีมงานผู้จัดงานดังกล่าวที่ให้โอกาสผมให้ได้สร้างผลงานนี้ออกมาด้วยครับ

คำเตือน บทความนี้จะเริ่มจากปูความรู้พื้นๆ แล้วค่อยลึกขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในฝั่ง Technical เพราะการตกผลึกความรู้ที่เกิดจากการใช้งานจริง ผมต้องกราบขออภัยท่านผู้อ่านที่พื้นฐานไม่แข็งแรงด้วยนะครับ ผมไม่สามารถลงลึกเล่าในทุกๆ ประเด็นได้จริงๆ เพราะเท่านี้ก็ยืดยาวมากแล้ว แต่ก็อยากให้ลองอ่านกันก่อนนะ อย่าเพิ่งรีบปิดหนีไปกันซะก่อน 555

เอาล่ะ เราอย่ามัวรีรอกันอยู่เลย มาเข้าเรื่องกันดีกว่าครับ 🙂

Continue reading

สรุปสิ่งที่ได้ทำในปี 2019

มาถึงสิ้นปี 2019 แล้ว ก็ขอสรุปสิ่งที่ได้ทำเอาไว้ทบทวนตัวเอง ปีนี้เป็นปีที่เกิดเรื่องราวต่างๆ มากมายเหลือเกิน มากซะจนมั่นใจว่าจะต้องลืมเหตุการณ์อะไรไปหลายเหตุการณ์แน่นอนในปีนี้ ตอนนี้ความจำผมยาว 3 เดือน อย่างไรก็ดีโชคดีที่จดไดอะรี่เอาเลย เลยยังพอจำได้ว่าได้ทำอะไรลงไปบ้าง เขียนบันทึกไว้ขำๆ เอาไว้ให้ตัวเองมาทบทวน

Continue reading