บทเรียนจากการสั่งงาน: เมื่อคำว่า “ทำอันนี้หน่อย” ไม่พออีกต่อไป

ช่วงหลังนี้ ผมได้ตกผลึกบทเรียนสำคัญเรื่องการสั่งงาน ที่ผมเองได้สัมผัสทั้งจากคนอื่นและด้วยตัวเอง ในหลากหลายรูปแบบแบางครั้งการสั่งงานแบบง่าย ๆ เช่น “ทำอันนี้หน่อย” “ทำอันนั้นหน่อย” ที่หัวหน้าหลายคนคิดว่าเพียงพอ มักจะทำให้งานออกมาไม่ตรงตามที่ต้องการ หลายคนโทษทีมที่ทำงานไม่ตรงเป้า แต่เมื่อมองให้ลึกลงไป กลับพบว่า ความคลุมเครือของคำสั่งนี่แหละ ที่เป็นปัญหาใหญ่ แทนที่มัวแต่จะโทษทีม ความจริงตัวหัวหน้าเองนั่นล่ะที่ต้องกลับมาพิจารณาตนเองในการสื่อสารด้วย

ในมุมนี้เอง การสั่งงานให้ชัดเจน จึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่ใช่หน้าที่ของหัวหน้าเท่านั้นที่ต้องรับผิดชอบเรื่องนี้ ในฐานะลูกน้องเอง ก็มีบทบาทไม่น้อยเช่นกันในการทำให้การทำงานราบรื่นและได้ผลลัพธ์ที่ดี

Continue reading

มุมมองของผมต่อสภาวะ Burnout

วันนี้ระหว่างกินเลี้ยงบริษัท
พนักงานรุ่นพี่ท่านหนึ่งถามคำถามที่ทำให้ผมต้องขบคิดอย่างหนัก
ทำเอา CPU สมองผมรันเต็ม 100% ไปสักพักหนึ่ง
คำถามนั้นก็คือ เวลาผม Burnout จัดการกับตัวเองอย่างไร
อยากขอบคุณท่านพี่สำหรับคำถาม ไม่ว่าจะถามเล่นหรือถามจริงก็ตาม
แต่มันจุดประกายทำให้ผมต้องขบคิดตลอดเส้นทางขับรถกลับบ้าน
จึงอยากจะขอมาเขียนแบ่งปันมุมมองผ่านทางนี้ถึงผลึกความคิดที่กลั่นออกมา

แต่ก่อนจะไปถึงเรื่องจัดการอย่างไร ขอว่ากันเรื่องวัฒนธรรมองค์กรกันก่อน
ในสภาวะตลาดที่เหล่าพนักงานที่มีความสามารถพิเศษ (Talent) เป็นมนุษย์ทองคำ
เป็นที่ต้องการของทุกองค์กร การรักษาตัว Talent ไว้กับองค์กรจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญ
เพราะทุกองค์กรก็มาแย่งตัว Talent เหล่านี้กันถึงในบ้าน
การ Burnout จึงเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างหนักในวงการ HR
โดยเฉพาะช่วงที่ Start Up กำลังเข้าสู่ยุคเฟื่องฟู คนสายคอมฯ ย้ายงานกันเป็นว่าเล่น

Continue reading

ทำไมคนกตัญญูไม่มีวันตกต่ำ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

หลังจากหาคำตอบกับคำว่า กตัญญู ในหลายๆ มิติมาเกือบปี
เหมือนจะเริ่มได้คำตอบและมีประเด็นที่น่าขบคิด
โดยเฉพาะกับตระกูลลูกหลานชาวจีนที่ชอบบอกว่า
คนกตัญญูไม่มีวันตกต่ำ มีแต่จะประสบความสำเร็จ
ทำไมเขาพูดแบบนั้น แล้วมันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ

Continue reading

ความซับซ้อนของทีมพัฒนาโปรแกรม และการอยู่ร่วมกันได้กับฝั่งธุรกิจ

ความเข้าใจผิดอย่างหนึ่งที่เห็นอยู่ตลอดในโลกธุรกิจที่อยากเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ คือ การคิดว่าฉันมีไอเดีย ฉันมีเงิน ฉันมีโปรแกรมเมอร์ แล้วฉันจะสร้างอะไรขึ้นมาได้บนคอมพิวเตอร์ โดยหาได้เข้าใจถึงความซับซ้อนและข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์เลย ความจริงการสร้างระบบขึ้นมาสักชิ้นหนึ่งให้ดีและสามารถดำรงอยู่ทนในโลกธุรกิจได้นั้น เบื้องหลังมีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายที่ซ่อนเร้นอยู่มากมาย

เมื่อพูดถึงการพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาใช้ คนทั่วไปมักจะนึกถึงโปรแกรมเมอร์ที่นั่งหลังขดหลังแข็งอยู่หน้าคอม คิดว่าสั่งไปแล้วจะสร้างอะไรขึ้นมาก็ได้ แต่ความจริงไม่ใช่เลย มันซับซ้อนกว่านั้นมาก และหากคุณคิดจะไปต่อในการแข่งขันในยุคต่อไป คุณต้องทำความเข้าใจเรื่องเหล่านี้บ้างด้วยเช่นกัน เพื่อที่จะได้ไม่เสียเปรียบคู่แข่ง

Continue reading

ความมั่นคงที่แท้จริง คือคุณค่าที่ตัวเรามีให้แก่สังคม

แต่ก่อนเคยคิดว่า
ความมั่นคงที่แท้จริง คือทักษะที่เรามี
หาใช่การได้อยู่ในบริษัทใหญ่ที่คนทั่วไปบอกว่ามีความมั่นคง

หากพิจารณาดูให้ดีแล้ว ประโยคดังกล่าวอาจถูกเพียงครึ่งหนึ่ง
ครึ่งหนึ่งที่ขาดหายไปคือส่วนของการพิจารณาด้านสังคม

Continue reading

เผชิญหน้ากับความขัดแย้ง และปรับความเข้าใจ

การถูกมองว่าเจตนาและการกระทำดีที่ตั้งใจทำลงไปนั้นเป็นเรื่องร้าย ความเสียหายต่อความรู้สึกเป็นระดับเดียวกับการรู้สึกถูกหักหลัง ก่อให้เกิดความสูญเสียความเชื่อใจต่อกัน แต่จะต่างกันตรงที่การหักหลังนั้นใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงแล้ว จับต้องได้ ส่วนการถูกมองว่าร้ายนั้นเท่าที่สังเกตมักเกิดจากความเข้าใจผิด ซึ่งมักจะแก้ไม่ยากผ่านการเจรจาปรับความเข้าใจ

หากพิจารณาให้ดีแล้ว ปัญหาไม่ได้เกิดจากเจตนาของคนที่พยายามทำดี แต่เป็นเพราะการทำดีของแต่ละคนก็มีมุมมองที่แตกต่างกัน รวมเข้ากับการไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก และพยายามเข้าใจมุมมองของอีกฝ่าย เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างไม่ก้าวเข้าหากัน ความขัดแย้งเรื้อรังจึงบังเกิด

ปัญหาฟังดูเหมือนจะง่าย ถ้าเกิดในระดับอารมณ์ชั่ววูบในสเกลขนาดเล็ก ก็แค่ลดอีโก้ลงมาคุยตกลงกัน แต่กับในเหตุการณ์บางอย่าง สถาการณ์บางประเภท เมื่อพิจารณาดูแล้วก็ยากที่จะเกิดขึ้น เพราะมันอาจไปขัดแย้งกับ Core Value ในการดำเนินชีวิตของแต่ละฝ่าย และจะยิ่งเป็นไปไม่ได้เลยหากต่างฝ่ายต่างถืออำนาจเป็นที่ตั้ง ต่างถือตัวเองเป็นสำคัญ เมื่อถึงจุดนี้กรรมการจึงต้องเข้ามามีบทบาท กฎหมายจึงต้องเข้ามามีบทบาท เพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมความก้าวร้าวที่อาจจะเลยเถิดจนกลายเป็นปัญหาระดับสังคม

ถึงอย่างไรก็ดี เมื่อเกิดความขัดแย้ง ก็ควรพยายามลองนั่งลงมาพูดคุยปรับความเข้าใจกันก่อน ส่วนใหญ่แล้วในสังคมทุกคนล้วนมีเจตนาดีต่อกัน มีเป้าหมายที่ทำเพื่อความประสบความสำเร็จไปด้วยกัน จึงควรอย่างยิ่งที่จะรีบพูดคุยปรับความเข้าใจกันเมื่อเกิดข้อขัดแย้ง ก่อนต่างฝ่ายจะต่างปรุงแต่งความคิดจนปัญหาบานปลาย กลายเป็นการผิดใจกันในระยะยาว แล้วจะมานั่งเสียใจที่ไม่ได้ปรับความเข้าใจกันในตอนที่สายเกินไป

ทำอย่างไรให้อ่านหนังสือเล่มหนาๆ ได้จบ

3 ปีก่อน มีความคิดอยากอ่านหนังสือเล่มหนาๆ จบกับเขาบ้าง
เห็นคนอ่านหนังสือปีละเป็นตั้งๆ เท่ดี เขาทำกันยังไง
ก็เลยหยิบ Principles มาอ่าน
ณ เวลานั้นเป็นหนังสือขายดีและต้องอ่าน

ก่อนหน้านี้ความจริงก็อ่านหนังสือได้
แต่มักจะอ่านเล่มบางๆ หน่อย สัปดาห์เดียวจบ
แต่พอเป็นหนังสือเล่มหนาๆ ความรู้สึกมันต่าง
มันมีเนื้อหาส่วนที่สนุกน่าสนใจ และมันมีส่วนที่น่าเบื่อ
ส่วนนี้ล่ะที่น่ากลัว เพราะเสี่ยงจะหมดกำลังใจอ่านต่อ
จึงได้ลองเอาเทคนิค Don’t Break the Chain มาใช้
เป็นเทคนิคที่ใช้สำหรับการฝึกนิสัยใหม่ๆ ที่ต้องทำทุกวัน

Continue reading

เรากำลังทำงานเพื่อชีวิตหลังเกษียณกันอยู่หรือเปล่า?

พอดีได้ไปเห็นภาพบน FB แล้วนึกถึงหนังสือที่กำลังอ่าน
เรื่องการมีชีวิต 100 ปี แล้วสะท้อนเรื่องนี้ตรงๆ เลย
หนังสืออธิบายว่า เราจะต้องทำงานมากขึ้นเพียงใด
เพื่อจะใช้ชีวิตหลังเกษียณที่ยาวมากขึ้นเรื่อยๆ ได้ (เพราะมนุษย์อายุยืนขึ้น)

ไอ้เรื่องวิธีการในหนังสือนั่นก็เป็นเรื่องที่ดี
แต่เรื่องที่มันน่าสนใจคือ
เหมือนเราเกิดมาทำงานเพื่อไปใช้ชีวิตตอนเกษียณ
รู้สึกขัดใจกับแนวคิดนี้ชะมัด

Continue reading

ผลึกความคิดที่ได้จากหนังสือ Unicorn Tears สตาร์ตอัพแบบไหนที่ไม่ได้ไปต่อ

Unicorn Tears หนังสือปกสวยเล่มหนึ่งที่ผมตัดสินใจนานมากกว่าจะหยิบมา เพราะรู้สึกว่าทุกวันนี้ปัญหาก็เยอะมากอยู่ละไม่อยากจะรับรู้ปัญหาอะไรเพิ่ม แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจซื้อมา เพราะคิดว่ามึงหนีปัญหาไม่พ้นหรอก ต้องเตรียมตัวเผชิญหน้าถึงจะถูก แล้วก็ค้นพบว่า เป็นหนังสือที่ควรอ่านก่อนจะเริ่มทำสตาร์ตอัพ ไม่ใช่เพิ่งมาอ่านเอาตอนนี้ 555 (จริงๆ เป็นหนังสือที่คนทำสตาร์ตอัพทุกคนควรอ่านสักครั้ง ไม่ว่าจะอยู่ Stage ไหนก็ตาม)

หนังสือเล่มนี้เน้นไปถึงผู้ก่อสตาร์ตอัพเป็นหลัก กล่าวถึงอุปสรรค์ต่างๆ ที่ผู้ก่อตั้งสตาร์ตอัพจะต้องเจอ ซึ่งหลายคนจะเห็นตามข่าวถึงปัญหาของขายไม่ได้ เงินหมด จะอะไรก็ว่ากันไป นั่นก็เป็นปัญหา แต่มีอีกปัญหาที่เป็นเรื่องสำคัญมากด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ แรงกดดัน และสภาพจิตใจของผู้ก่อตั้ง ซึ่งมักจะไม่ค่อยมีคนพูดถึงกัน เพราะมันจะแสดงออกถึงความอ่อนแอหรือจะอะไรก็ตามที แต่นี่เป็นเรื่องสำคัญมาก และหนังสือเล่มนี้ก็ได้กล่าวถึงไว้อย่างเป็นห่วงเป็นใย เรียกว่าเข้าถึงหัวใจผู้ประกอบการสุดๆ

หากจะกล่าวถึงสิ่งที่ต้องคำนึงถึง การพัฒนาไอเดีย การหาผู้ร่วมก่อตั้ง การจัดหาและดูแลพนักงาน การพัฒนาแผนธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริหารเงิน การระดมทุน การจัดการความสัมพันธ์กับนักลงทุน เรียกว่าเล่มนี้ทำได้ครบรอบด้านเลย ขอแนะนำให้ผู้ประกอบการทั้งหลายลองไปหาอ่านดู

จากประสบการณ์ทำงานสตาร์ตอัพมาได้เกือบจะ 4 ปี ต้องยอมรับเลยว่านี่เป็นเส้นทางที่หฤโหดมาก มีอะไรต้องทำมากมายเสียจนหันมาดูปฏิทินอีกทีแล้วก็ต้องตกใจว่าจะสิ้นเดือนอีกแล้วหรอฟระ แต่ละ Stage ก็มีสิ่งที่ต้องทำ มีปัญหาที่แตกต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง ต้องเรียนรู้ ต้องปรับตัวไม่ได้หยุดเลยจริงๆ แต่ก็ท้าทายและสนุกมากไปพร้อมกัน

สื่อต่างๆ นำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับสตาร์ตอัพผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงไปพอสมควร ความคิดเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าสตาร์ตอัพไม่ใช่ทางที่ใครจะมาทำก็จะมา จะไปก็ไป มันมีความคาดหวัง มันมีพันธะมากมาย ผมว่ามันคือ Life Style มันคือเส้นทางของคนที่คิดอยากเปลี่ยนโลก มันคือเส้นทางของนักสู้ หาใช่ที่มาขุดเงินขุดทองหวังรวยเร็วอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน การระดมทุนได้เป็นแค่จุดเริ่มต้นของเรื่องราวที่แท้จริง

ที่อยากเน้นย้ำอีกเรื่องคือ สภาพจิตใจของคนทำสตาร์ตอัพนั้นต้องแข็งแกร่งดั่งเพชรจริงๆ ผมหมายถึงตั้งแต่ผู้ก่อตั้งไปจนถึงพนักงานทุกคน คุณจะต้องรับศึกรอบด้าน ต้องรักษาสมดุลชีวิตให้ได้ คุณเลือกมาขึ้นเรือเล็ก มันย่อมโคลงเคลงมากเป็นธรรมดา แต่ก็มีข้อดี การแจวของคุณจะส่งผลอย่างมากต่อองค์กร คุณจะเห็นผลลัพธ์ชัดเจนจากงานที่คุณทำ คุณจะได้เรียนรู้ทั้งลึกทั้งรอบด้าน แล้วถ้าอดทนจนเรือไปถึงเป้าหมายได้จริง ก็มารอดูกันว่ารางวัล (ความรู้ ประสบการณ์ เงิน) ที่ได้กลับมานั้นจะคุ้มค่าเพียงใด หรือต่อให้ไปไม่ถึงฝั่ง ผมก็เชื่อว่าคุณก็จะแกร่งจนเดินไปไหนก็มีแต่คนกวักมืออยากให้ไปร่วมงาน

ขอแนะนำหนังสือเล่มนี้ไว้ให้ผู้ก่อตั้งสตาร์ตอัพทุกท่านได้อ่าน ได้พิจารณา และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด จากใจเพื่อนร่วมวงการ และขอเป็นกำลังใจให้นักสู้ทุกคน..

Continue reading