ผลึกความคิดที่ได้จากหนังสือ เราทุกคนล้วนมีร้านเวทมนตร์อยู่ในใจ (Into The Magic Shop)

สมองรู้อะไรมากมาย แต่ความจริงอันเรียบง่ายก็คือ
สมองยังรู้อะไรได้อีกมากเมื่อทำงานร่วมกับหัวใจ

ในปัจจุบันนี้เราได้เรียนรู้ว่าสมองเป็นกลไกการทำงานหลักเกี่ยวกับความคิด
ช่วยตัดสินใจเรื่องต่างๆ ช่วยควบคุมส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ส่วนหัวใจทำงานเป็นแค่อวัยวะที่คอยสูดฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย
แต่ก็ไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลใด มนุษย์เรากลับแทนความรู้สึกต่างๆ ว่าเป็นเรื่องของหัวใจ
หรือความจริงแล้ว สมองและหัวใจจะมีความเชื่อมโยงที่ลึกซึ่งกันมากกว่าที่เราคิด

หนังสือเล่มนี้เล่าถึงประวัติของประสาทศัลยแพทย์ (หมอผ่าตัดสมอง) คนซึ่ง
ซึ่งเคยเป็นเด็กชายที่เกิดมาในครอบครัวที่ยากจนและมีปัญหาที่สุด
แต่โชคดีได้พบกับผู้หญิงผู้เปี่ยมด้วยเมตตา ผู้ซึ่งรู้จักสุดยอดกลวิเศษ และถ่ายทอดให้กับเขา
กลที่ว่านั้นจะช่วยให้ผู้ที่ใช้เป็นสามารถได้สิ่งที่ต้องการ และกลนี้เป็นกลที่เกี่ยวกับการใช้หัวใจ

Continue reading

ช่วงเวลาของชีวิต กับ หนังสือที่ฉันอ่าน

เมื่อคืนก่อนนอนนั่งๆ คิดดูว่ามีอะไรที่เสียดายที่สุดที่ไม่ได้ทำมาตั้งนานแล้ว แล้วก็พบว่า เป็นเรื่องการอ่านหนังสือ

สมัยก่อนชอบคอมพิวเตอร์มาก ก็เลยเล่นแต่คอมฯ อ่านแต่เรื่องคอมฯ ก็รู้สึกโอเคแล้วสำหรับตอนเป็นเด็ก แต่เติบโตมาอย่างไร้ความรู้รอบตัว เพิ่งมาพบว่าโลกนี้มีอะไรอีกมากมายที่รอให้เราค้นหา

ความจริงตอนเป็นเด็กอยู่ที่บ้านก็มีคนอ่านหนังสือ พ่อก็อ่านหนังสือ อี๊ก็อ่านหนังสือ พี่สาวก็อ่านหนังสือ แต่เป็นหนังสือคนละแนวกับที่สนใจ สุดท้ายก็เลยไม่ได้มีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านหนังสือเท่าไหร่

ตอนมัธยมปลายตัดสินใจเลือกเส้นทางคอมฯ ถึงเริ่มเข้าร้านหนังสือไปซื้อหนังสือคอมฯ มาอ่าน แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่สนใจ จนกระทั่งใกล้ๆ จะจบ ม. ปลายถึงค้นพบว่า ชอบอ่านหนังสือแนวธรรมะประยุกต์กับวิทยาศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้หามาอ่านเท่าไหร่เพราะไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์ แค่อ่านแล้วเอ๊ะ ปรากฎการณ์เหนือธรรมชาตินี้ที่เคยเกิดกับเราก็เกิดกับคนอื่นนิหว่า หรือความจริงวิทยาศาสตร์จะไม่ใช่ทุกอย่าง และธรรมะที่เห็นกันทั่วไปก็ไม่ใช่อย่างที่มันควรจะเป็น

Continue reading

Data Engineer ทักษะที่ต้องมี โจทย์ เครื่องมือ และความท้าทายที่ต้องเจอ

สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทความยาวๆ แบบที่อ่านจบรู้เล่าเอาไปโม้ต่อได้เลย วันนี้ผมจะมาแนะนำให้รู้จักกับสายอาชีพวิศวกรข้อมูล หรือ Data Engineer กัน แต่เราจะไปไกลกันมากกว่านั้น ผมจะพาไปรู้จักกับที่มาที่ไปของสายอาชีพนี้ด้วยว่ามันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร งานปรกติทำอะไรกัน มีเครื่องมืออะไรต้องรู้จักบ้าง และปิดท้ายที่ตัวอย่างโจทย์ทางฝั่ง Data Engineer จากบริษัท Credit OK ที่ผมทำงานอยู่

บทความนี้อาจจะยาวๆ หน่อย เพราะเขียนขึ้นมาเพื่อตกผลึกความคิดสำหรับไปบรรยายให้นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีฟังในหัวข้อ Introduction to Data Engineer and Data Pipeline at Credit OK และงาน CodeMania 1010 ในหัวข้อ Serverless Big Data Architecture with Google Cloud Platform ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปดู Slides ได้จากลิงค์นะครับ อ่อ แล้วก็มี Video ด้วยนะ เข้าไปดูได้ที่นี่ครับถ้าสนใจ https://www.youtube.com/watch?v=BAeo0FcF6f8 ขอขอบคุณอาจารย์และทีมงานผู้จัดงานดังกล่าวที่ให้โอกาสผมให้ได้สร้างผลงานนี้ออกมาด้วยครับ

คำเตือน บทความนี้จะเริ่มจากปูความรู้พื้นๆ แล้วค่อยลึกขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในฝั่ง Technical เพราะการตกผลึกความรู้ที่เกิดจากการใช้งานจริง ผมต้องกราบขออภัยท่านผู้อ่านที่พื้นฐานไม่แข็งแรงด้วยนะครับ ผมไม่สามารถลงลึกเล่าในทุกๆ ประเด็นได้จริงๆ เพราะเท่านี้ก็ยืดยาวมากแล้ว แต่ก็อยากให้ลองอ่านกันก่อนนะ อย่าเพิ่งรีบปิดหนีไปกันซะก่อน 555

เอาล่ะ เราอย่ามัวรีรอกันอยู่เลย มาเข้าเรื่องกันดีกว่าครับ 🙂

Continue reading

ความจริง Blockchain แก้ปัญหาอะไรกันแน่

Blockchain เป็นกระแสในประเทศไทยมาได้สักปีนึงแล้ว เห็นคนเยอะแยะพูดถึง รวมไปถึงมีหนังสือเยอะแยะไปหมด แต่ส่วนใหญ่มักจะอธิบายไม่เป็นเรื่อง Cryptocurrency ก็เรื่องว่ามันคืออะไร น่าจะเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง ซึ่งน่าจะเอาไปใช้ได้เนี่ย ซึ่งคนนอกวงการหลายคนที่ผมเจอ ได้อ่านไปฟังคนเล่ามาก็พอจะเห็นภาพความฝัน แต่ยังไม่รู้ว่าจริงๆ ที่รับข้อมูลมานั้นมันใช้งานได้จริงขนาดไหน ส่วนคนในวงการเทคโนโลยีที่เข้าในการทำงานของคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว ก็จะมองออกมาเป็นอีกโลกไปเลย วันนี้ผมขอมาเล่าสิ่งที่ได้จากการสังเคราะห์จากสื่อที่เสพเข้ามาและจากประสบการณ์ที่ได้เจอกับตัวว่า จริงๆ แล้ว Blackchain เนี่ย มันพิเศษอย่างไรกว่าวิธีการเก็บข้อมูลปรกติอย่างไร แล้วทำไมหลายคนจึงได้ตื่นเต้นกับมันนัก แล้วมันน่าตื่นเต้นจริงอย่างที่ถูกพูดถึงจริงหรือไม่

ก่อนจะอ่านต่อ ผมอยากให้ทุกท่านไปลองอ่านว่า Blockchain คืออะไร มันทำงานยังไง อย่างน้อยขอให้ได้เห็นภาพกล่องต่อๆ กันก็ยังดี เพราะในบทความนี้ผมจะไม่พูดถึงพื้นฐานการทำงานของมัน เพราะมีคนเขียนมาเยอะมากแล้ว แต่พื้นฐานเบื้องต้นตรงนั้นก็จะช่วยให้อ่านสิ่งที่ผมจะเล่าต่อไปนี้ได้เห็นภาพมากขึ้นครับ

Continue reading

3D XPoint™ เทคโนโลยีที่จะปฏิวัติวงการคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน

ก่อนจะเข้าสู่ยุค Quantum Computer ที่เราเริ่มเห็นกันบ่อยๆ ในภาพยนตร์ อย่าง Transcendence วันนี้ Intel ได้เผยความก้าวหน้าในงานวิจัยใหม่ 3D XPoint™ เป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบ Non-Volatile Memory โดยการจัดวางหน่วยความจำแบบสามมิติ คือวางแนวตั้งเพิ่มขึ้นมานั่นเอง ส่งผลให้สามารถเพิ่มความหนาแน่นในการจัดวางหน่วยบันทึกข้อมูลต่อพื้นที่ ทำให้เก็บข้อมูลได้มากขึ้น และเพิ่มความเร็วในการเรียกใช้ข้อมูลได้เร็วขึ้น ในราคาที่ไม่แพง (รึเปล่า?)

Continue reading

Accelerometer และ Gyroscope ต่างกันอย่างไร ?

ทุกวันนี้อุปกรณ์ Sensor ต่างๆ เริ่มหาซื้อได้ในราคาทั่วไป เช่น GPS ในรถยนต์ หรือโมดูล GPRS ใช้ทำโทรศัพท์
หรือว่าจะเป็น Ultrasonic ที่ใช้ทำ sensor จับวัตถุที่ท้ายรถยนต์

มี Sensor ชนิดนึง ที่ใช้วัดความเอียง นั้นก็คือ Accelerometer และ Gyroscope

มือใหม่หลายคนจะไม่เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง Sensor สองชนิดนี้

Continue reading

วิธีกดจุด หัวคิ้ว เพื่อแก้อาการสะอึก วิธีนี้ล่ะหายสะอึกแน่นอน

ผมเชื่อว่าทุกคนจนถึงวันที่สามารถมาเปิดอินเตอร์เน็ตค้นหาข้อมูลเองได้นี้ คงไม่มีใครยังไม่เคยสะอึก มันเป็นปัญหาที่ทุกคนคงจะเคยเจอ และจะเริ่มรู้สึกรำคาญเมื่อมันไม่หายซะที บางคนอาจโชคร้ายสะอึกกันข้ามวันข้ามคืนเลยทีเดียว ผมนี่เคยเป็นมาละ นอนไปทั้งสะอึก ตอนนอนมันก็ไม่สะอึกหรอก แต่ตื่นมาสะอึกต่อ จะบ้าตาย ในบทความนี้จะไม่เล่าถึงที่มาของอาการสะอึก แต่จะขอกล่าวถึงวิธีการแก้ให้หายสะอึก

ผมเป็นคนหนึ่งที่เกิดอาการสะอึกแล้วกว่าจะหายนานมาก วันหนึ่งสะอึกหนักมากก็เลยไปค้น Google มาเรื่องวิธีการแก้อาการสะอึก ซึ่งก็เจอหลากหลายวิธีเหลือเกิน ทั้งทำให้ตกใจ กินน้ำท่าแปลกๆ เอาน้ำใส่หูงี้ ว่ากันไปนั่น ลองมาหมดละ ใช้ไม่ได้ผล Continue reading

ข้อมูลเกี่ยวกับยุง การเจริญเติบโตของยุง เมื่ออายุของยุงจริงแล้ว ไม่ใช่แค่ 7 วัน

สภาวะหลังน้ำท่วมใหญ่ในหลายภาคของประเทศไทย ทำให้เกิดมีน้ำท่วมขังตามแหล่งต่าง ๆ ในวงกว้างที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของยุงหลายชนิด ที่กำลังเป็นปัญหาหนักในขณะนี้คือการมีกลุ่มยุงรำคาญจำนวนมากในทุกพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ยุงรำคาญมีหลายสกุล แต่ที่พบมากในขณะนี้คือ คูเลกซ์ ควินคิวแฟสเวียตัส (Culex quinquefasciatus) ที่พบในแหล่งน้ำขังที่เป็นน้ำเน่าเสีย ยุงรำคาญอีก 2 สกุล ที่พบได้มากในประเทศไทย ได้แก่ เจลิดัส (Cx. Gelidus) และ ไตรเตนิโอรินคัส (Cx. Tritaeniorhynchus) ซึ่งเป็นยุงรำคาญที่พบลูกน้ำอยู่ในหนองน้ำ น้ำขังตามไร่นา น้ำตามรอยเท้าสัตว์ กลุ่มยุงรำคาญเหล่านี้เป็นพาหะนำโรคไข้สมองอักเสบ โรคเท้าช้างในคน และโรคพยาธิหนอนหัวใจในสุนัข ยุงที่นำโรคที่สำคัญอีก 3 กลุ่มคือ กลุ่มยุงลาย สองสกุลที่สำคัญคือ Aedes aegypti (ยุงลายบ้าน) และ Ae. albopictus (ยุงลายสวน) ที่นำเชื้อไข้เลือดออกที่ลูกน้ำอาศัยอยู่ในน้ำสะอาด เช่น ตามลุ่มน้ำ ภาชนะใส่น้ำ อื่น ๆ กลุ่มยุงก้นปล่อง (Anopheles) ที่นำเชื้อไข้มาลาเรีย และกลุ่มยุงเสือ (Mansonia) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ายุงทั้ง 3 กลุ่มข้างต้น ที่นำเชื้อโรคเท้าช้าง ยุงเหล่านี้อาจสามารถนำโรคอื่น ๆ เช่น ยุงลายแม้จะเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก แต่ก็มีรายงานว่าสามารถนำโรคเท้าช้างได้ เป็นต้น

โดยทั่วไปยุงจะมีการเจริญเติบโตเป็น 4 ระยะ คือ ระยะเป็นไข่ ลูกน้ำ ตัวโม่ง และตัวเต็มวัย โดยที่ในระยะลูกน้ำจะแบ่งการเจริญเติบโตออกเป็น 4 วัย คือ วัย 1-4 ลูกน้ำจะมีการลอกคราบเมื่อเข้าสู่ระยะต่าง ๆ โดยมีระยะการเจริญเติบโตในระยะลูกน้ำประมาณ 7-10 วัน อาจช้าหรือเร็วกว่านี้ขึ้นกับชนิดของลูกน้ำ อุณหภูมิและอาหาร ขณะที่ระยะตัวโม่งจะใช้เวลา 2-3 วัน ซึ่งในระยะตัวโม่งนี้จะไม่กินอาหารใดๆ และจากตัวโม่งจะลอกคราบออกมาเป็นยุง ในระยะตัวเต็มวัยที่เป็นยุงนี้ ตัวผู้จะมีชีวิตอยู่ได้ราว ๆ 7 วัน ขณะที่ยุงตัวเมียจะมีชีวิตอยู่ได้นานนับเดือน โดยยุงทั้ง 2 เพศ จะใช้น้ำหวานจากดอกไม้ดำรงชีวิต ขณะที่ยุงตัวเมียจะต้องการโปรตีนจากเลือดมนุษย์และสัตว์เพื่อการสร้างไข่ที่จะกลายเป็นลูกน้ำยุงต่อไป

ยุงมีถิ่นอาศัยที่ต้องเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำหลายชนิด โดยยุงก้นปล่องวางไข่ใบเดี่ยว ๆ บนผิวน้ำ ยุงลายวางไข่ใบเดี่ยวๆ ตามขอบเหนือระดับน้ำ ยุงรำคาญวางไข่เป็นแพบนผิวน้ำและยุงเสือวางไข่ติดกันเป็นกลุ่มติดกับใบของพืชน้ำ เมื่อไข่ฟักออกมาเป็นตัวจะได้ลูกน้ำวัย 1 และลอกคราบตามระยะ ลูกน้ำจะลอยขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ ส่วนลูกน้ำยุงเสือจะหายใจโดยเจาะเอาออกซิเจนจากรากพืชน้ำ ลูกน้ำยุงจะกินอาหารพวกแบคทีเรีย ยีสต์ สาหร่ายเล็ก ๆ เป็นต้น ในการควบคุมประชากรยุง มักจะควบคุมในระยะที่เป็นลูกน้ำ โดยใช้แบคทีเรียฆ่าลูกน้ำยุง หรือควบคุมระยะที่เป็นตัวยุงโดยใช้สารเคมีฆ่ายุงหรือหมอกควันที่ใช้ไล่ยุง (แต่อาจกำจัดยุงไม่ได้มากนัก เพราะยุงอาจบินหนีไปอยู่ที่อื่น)

ข้อมูล – คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คัดลอกจาก: http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000151523

ตัวเลขฐานสิบหก Hex คืออะไร

รู้ใช่ไหมครับว่า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เนี่ย เป็นอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคส์ – -”
ไม่ใช่ อุปกรณ์อิเล็กโทรนิคส์เนี่ย มันจะใส่ข้อมูลกันโดยการปิดเปิดสัญญาณ มันคือการส่งสัญญาณไฟฟ้านั่นเอง อยางเช่น 0 1 0 0 0 1 0 1 0 0 0 1 1 1 0 1 อะไรประมาณนี้

แต่ในคอมพิวเตอร์เนี่ย มันสลับซับซ้อนกว่านั้น เพราะมันต้องมีการส่งข้อมูลไปมามากเป็นพิเศษ
แถมยังต้องแสดงผลให้คนเห็นอีกด้วย มันจึงมีการแปลงเลขฐานสอง(0-1) เป็นฐาน16(0-F) ซึ่งก็ต้องลามไปถึงเรื่องหน่อยความจำซะหน่อย Continue reading