สวัสดีครับ ห่างหายกันไปหลายสัปดาห์ วันนี้เรากลับมาต่อกันกับการโฮสเว็บไซต์บน GitLab Pages ในเรื่องของการทำ custom domain และทำ HTTPS ด้วย Cloudflare ให้ได้เกรด A+ จาก SSL Labs
Continue readingAuthor Archives: Kriangkrai Chaonithi
ใช้ GitLab Pages โฮส Static Website ฟรีๆ ไม่ต้องตั้ง Server (Step By Step)
สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาขอแนะนำฟีเจอร์เด็ดของเครื่องมือที่ผมชอบมากตัวหนึ่ง นั่นก็คือ GitLab Pages นั่นเอง อธิบายสั้นๆ ก็คือ GitLab Pages เอาไว้โฮสเว็บไซต์แบบ Static คือมาแต่ฝั่ง HTML/CSS/JS นั่นเอง โดยที่เราไม่จำเป็นต้องตั้ง Server ของตัวเองเลย GitLab อาสาไปโฮสให้ฟรีๆ แต่ด้วยพลังของ GitLab CI/CD ทำให้มีการสร้างโปรแกรมขึ้นมาเพื่อ Generate Static Website กันบน Online ได้เลย หนึ่งตัวที่น่าสนใจก็คือ Hugo แต่อันนั้นจะเล่าในวันหลัง ส่วนวันนี้ผมจะมาสอนการใช้แบบพื้นฐานเป็น Plain HTML กันก่อน 🙂
Continue readingเทคนิคการเรียน Programming ให้เร็วและมีประสิทธิภาพ
สวัสดีครับ วันนี้มาคุยกันถึงหัวข้อเบาๆ กันบ้าง มันเป็นเรื่องของเทคนิคที่ผมใช้เวลาต้องการเรียนภาษาหรือเฟรมเวิร์คใหม่สำหรับการเขียนโปรแกรม การอยู่ในสายคอมพิวเตอร์นั้นมีความจำเป็นที่จะต้องติดตามเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นเรายังต้องเดิมพันด้วยว่าควรจะเลือกจับเทคโนโลยีตัวไหนมาทำมาเป็นคู่ชีวิต เพราะถ้าเลือกผิดตัวศึกษาไปแล้วดันไม่เกิด ก็เหมือนเสียเวลาเรียนฟรี เอามาใช้ทำมาหากินไม่ได้ หรือไม่ก็สร้างทีมไม่ได้ อย่างไรก็ดี ยังไงเราก็ต้องศึกษาสิ่งที่ออกมาใหม่บ้างอยู่ดี คำถามคือแล้วทำอย่างไรเราถึงจะเป็นผู้รู้เทคโนโลยีหลายๆ ตัวให้ได้เร็วและมีประสิทธิภาพ วันนี้ผมจะขอเล่าถึงเทคนิคที่ผมใช้มาเป็นเวลานมนานเพื่อให้สามารถศึกษาทั้งแต่ ภาษา เฟรมเวิร์ค ไปจนถึงเครื่องมือต่างๆ ได้ในเวลาอันสั้น
Continue readingสรุปสิ่งที่ได้ทำในปี 2018
มาถึงสิ้นปี 2018 แล้ว ก็ขอสรุปสิ่งที่ได้ทำเอาไว้ทบทวนตัวเอง ปีนี้เป็นปีที่เกิดเรื่องราวต่างๆ มากมายเหลือเกิน มากซะจนมั่นใจว่าจะต้องลืมเหตุการณ์อะไรไปหลายเหตุการณ์แน่นอนในปีนี้ อย่างไรก็ดีก็จดเอาที่ยังพอจำได้ไว้ดูพัฒนาการของชีวิต
Continue readingEP 3: Serverless Big Data Architecture on Google Cloud Platform @ Credit OK
สวัสดีทุกท่าน มาถึงตอนสุดท้ายแล้วนะครับ ซึ่งในตอนนี้ผมจะเล่าถึงวิธีการจัดการกับ Big Data แบบที่ Credit OK ทำอยู่นั้นเป็นประมาณไหน แล้วเราใช้ Serveeless Service จาก GCP อย่างไร เราเจออุปสรรคอะไรบ้าง และแก้ปัญหามาได้อย่างไร
บทความนี้เขียนขึ้นเพราะได้ขึ้นไปพูดที่งาน Barcamp นะครับ ใครสนใจดู Slide เปิดได้จากที่นี่เลย Serverless Big Data Architecture on Google Cloud Platform at Credit OK
Continue readingEP 2: Serverless Big Data Architecture on Google Cloud Platform @ Credit OK
สวัสดีครับ สัปดาห์นี้จะมาเล่าต่อกันเรื่องการใช้ Google Cloud Platform ที่บริษัท Credit OK สำหรับสัปดาห์ที่แล้วได้เล่าถึงประวัติศาสตร์การ Deploy Application ต่างๆ ตั้งแต่ Bare Metal ไปจนถึง Cloud Functions ท่านใดสนใจจะกลับไปอ่านบทความก่อนหน้าก็ตามลิงค์ไปได้เลย Server & Application Deployment History ส่วนสัปดาห์นี้ ผมจะขอแนะนำบริการต่าง ที่น่าสนใจบน Google Cloud Platform ทั้งทางฝั่ง Compute, Storage, Database และ Data Analytics
Continue readingMoney Counter โปรเจกต์ที่ทำด้วย Passion ล้วนๆ
เมื่อวานไปงาน Next Stack: Entrepreneur Edition
ตอนจบมีคำถามที่ โดนใจผมเอามากๆ (ไม่รู้เข้าใจผิดหรือเปล่านะ) ประมาณว่า จะมีไหม คนที่มุ่งมั่นทำธุรกิจตาม Passion แบบไม่ได้สนใจเรื่องเงิน
EP 1: Serverless Big Data Architecture on Google Cloud Platform @ Credit OK
สวัสดีครับทุกท่าน สืบเนื่องจากที่ผมได้ทำงานอยู่ที่ Credit OK ซึ่งเป็น Fintech Startup ที่ต้องใช้เทคโนโลยีสำหรับจัดการกับ Big Data แบบเป็นเรื่องเป็นราว มาตั้งแต่ตอนต้นปี 2018 โดยเริ่มต้นจากไม่มีอะไรเลย จึงได้มีโอกาสได้ศึกษาและเลือกเทคโนโลยีที่จะใช้อย่างอิสระ ได้ทดลองแล้วมาถูกใจกับ Google Cloud Platform (GCP) เพราะบริการที่มีให้ค่อนข้างตรงกับโจทย์ธุรกิจที่ต้องการ นอกจากนั้นยังเป็นบริการที่เข้าไปใช้งานได้เลยผ่านทาง GUI หรือ Library โดยไม่ต้องมากดตั้งเครื่องสักตัว (Serverless) ก็เลยรู้สึกว่าอยากจะมาแบ่งปันประสบการณ์ที่ได้พบเจอมา และได้มีโอกาสไปพูดเป็นวิทยากรในหัวข้อนี้กับ MSIT ของ ม.เกษตร และในงาน Barcamp Bangkhen 2018 ก็พบว่าหลายคนให้ความสนใจในหัวข้อนี้ จึงเป็นอันควรแล้วจะมาเขียน Blog แบ่งปันความรู้กัน 🙂
สำหรับ Slide ในงาน Barcamp สามารถดูได้จากที่นี่ครับ
Serverless Big Data Architecture on Google Cloud Platform at Credit OK
ตอบคำถาม วิศวะคอมฯ วิทยาการคอมฯ ไอที ต่างกันอย่างไร ควรเลือกเรียนอะไรดี?
สวัสดีครับทุกท่าน หนึ่งในคำถามที่ผมถูกถามบ่อยที่สุดเวลาไปคุยกับเด็กมัธยมฯ หรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่ก็คือ สาขา Computer Science (วิทยาการคอมพิวเตอร์), Computer Engineering (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) และ Information Technology (เทคโนโลยีสารสนเทศ) มันเรียนแตกต่างกันอย่างไร ในฐานะที่เป็นคนทำงานทางสายงานคอมพิวเตอร์และมีความซาบซึ่งในด้านการศึกษาทางศาสตร์นี้ด้วย วันนี้จึงจะมาขอเล่าให้ฟังอย่างเป็นเรื่องเป็นราวแบบที่จบในม้วนเดียว และปิดท้ายด้วยคำแนะนำสำหรับน้องๆ ที่กำลังจะเรียนทางสายนี้ว่า ควรจะเลือกเรียนอะไรดี โอเค เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า
Continue readingความจริง Blockchain แก้ปัญหาอะไรกันแน่
Blockchain เป็นกระแสในประเทศไทยมาได้สักปีนึงแล้ว เห็นคนเยอะแยะพูดถึง รวมไปถึงมีหนังสือเยอะแยะไปหมด แต่ส่วนใหญ่มักจะอธิบายไม่เป็นเรื่อง Cryptocurrency ก็เรื่องว่ามันคืออะไร น่าจะเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง ซึ่งน่าจะเอาไปใช้ได้เนี่ย ซึ่งคนนอกวงการหลายคนที่ผมเจอ ได้อ่านไปฟังคนเล่ามาก็พอจะเห็นภาพความฝัน แต่ยังไม่รู้ว่าจริงๆ ที่รับข้อมูลมานั้นมันใช้งานได้จริงขนาดไหน ส่วนคนในวงการเทคโนโลยีที่เข้าในการทำงานของคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว ก็จะมองออกมาเป็นอีกโลกไปเลย วันนี้ผมขอมาเล่าสิ่งที่ได้จากการสังเคราะห์จากสื่อที่เสพเข้ามาและจากประสบการณ์ที่ได้เจอกับตัวว่า จริงๆ แล้ว Blackchain เนี่ย มันพิเศษอย่างไรกว่าวิธีการเก็บข้อมูลปรกติอย่างไร แล้วทำไมหลายคนจึงได้ตื่นเต้นกับมันนัก แล้วมันน่าตื่นเต้นจริงอย่างที่ถูกพูดถึงจริงหรือไม่
ก่อนจะอ่านต่อ ผมอยากให้ทุกท่านไปลองอ่านว่า Blockchain คืออะไร มันทำงานยังไง อย่างน้อยขอให้ได้เห็นภาพกล่องต่อๆ กันก็ยังดี เพราะในบทความนี้ผมจะไม่พูดถึงพื้นฐานการทำงานของมัน เพราะมีคนเขียนมาเยอะมากแล้ว แต่พื้นฐานเบื้องต้นตรงนั้นก็จะช่วยให้อ่านสิ่งที่ผมจะเล่าต่อไปนี้ได้เห็นภาพมากขึ้นครับ
Continue reading